วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12 วันที่ 26 เมษายน 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

***เนื่องจากไม่ได้ไปเรียนจึงขออ้างเนื้อหามาจากบล็อกของนางสาวสุพรรษา  คำกอง***

Learning ( เนื้อหาที่เรียน )

**โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)**

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
**แผน IEP**
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
**การเขียนแผน IEP**
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
  • เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
**IEP ประกอบด้วย**
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
**ประโยชน์ต่อเด็ก**
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
**ประโยชน์ต่อครู**
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
**ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง**
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
**ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล**
1. การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3.การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

ระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

3. การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**

Skills ( ทักษะที่ได้ )
  • ทักษะการตอบคำถาม
  • ทักษะการวิเคราะห์
Teaching Techniques ( เทคนิคการสอน )
  • ใช้สื่อเหมาะสมกับเนื้อหา มีตัวอย่างที่สามารถมองเห็นได้ จากวิดีโอ จาก youtube 
Applications in Life ( การนำไปประยุกต์ใช้ )
  • ใช้เป็นความรู้เบื้องต้น เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการสังเกตเด็กในห้องเรียน ว่ามีอาการผิดปกติ หรือเข้าข่ายเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทใด เพื่อที่จะส่งเสริมได้ถูกต้อง
Evaluation ( การประเมิน )
Teacher แต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลาใช้เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนที่ดีและมีกิจกรรมผ่อน คลายให้กับนักศึกษา
students แต่งกายสุภาพ ตั้งใจเรียน
classroom สะอาด เเละเอื้ออำนวยต่อการทำกิจจกรรม

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11 วันที่ 20 เมษายน 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

Learning ( เนื้อหาที่เรียน )

***การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ***

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  • เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
  • ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  • เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
  • เกิดผลดีในระยะยาว
  • เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  • แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
  • โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  • การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
  • การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
  • การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
3. การบำบัดทางเลือก
  • การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  • ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  • การฝังเข็ม (Acupuncture)
  • การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
  1. การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
  2. โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
  3. เครื่องโอภา (Communication Devices)
  4. โปรแกรมปราศรัย
บทบาทของครู
  1. ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
  2. ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  3. จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
  4. ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
**กิจกรรมการเล่น**
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
**ยุทธศาสตร์การสอน**
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  • ครูจดบันทึก
  • ทำแผน IEP
**การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง**
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
**ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น**
1.อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
2.การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดย “การพูดนำของครู”
3.ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาสเด็ก
2. ทักษะภาษา
  • การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
**ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย**
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  • การสร้างความอิสระ เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง อยากทำงานตามความสามารถ เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
  • ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ การได้ทำด้วยตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
  • หัดให้เด็กทำเอง ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ “ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”
**จะช่วยเมื่อไหร่**
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรร
**ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง**
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • ย่อยงาน
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
  • เป้าหมาย
  • การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
  • พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
4.1ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
4.2การเลียนแบบ
4.3การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ

**การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ**
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
Skills ( ทักษะที่ได้ )
  • ทักษะการตอบคำถาม
  • ทักษะการวิเคราะห์
Teaching Techniques ( เทคนิคการสอน )
  • Power Point
  • สื่อออนไลน์(youtube)
  • การใช้คำถาม
  • การยกตัวอย่าง
Applications in Life ( การนำไปประยุกต์ใช้ )
  • การที่จะเข้าไปช่วยเหลือเด็กพิเศษจะต้องสังเกตเด็กทุกครั้งว่าเด็กต้องการให้เราช่วยหรือไม่
Evaluation ( การประเมิน )
Me : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend : เพื่อนๆมาเรียนเร็วและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
Teacher : อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีทั้งสื่อการสอนและการยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้นมีความสนุกสนานในการเรียนไม่เครียด

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 วันที่ 30 มีนาคม 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

Learning(เนื้อหาที่เรียน) :

**การจัดประสบการณ์ การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย**

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ):
รูปแบบการจัดการศึกษา
  1. การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  2. การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  3. การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  4. การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
**ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)**
  • การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
  • มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
  • ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
  • ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
**การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)**
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
**การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)**
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
  • มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
  • เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
**ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)**
  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
  • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
**สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม**
  • เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  • เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All)
  • การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
  • เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
**ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย**
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ “สอนได้” เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
**บทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม**
  • ครูไม่ควรวินิจฉัย การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
  • ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
  • ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
  • ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้ ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
**ครูทำอะไรบ้าง**
  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
  • ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
  • สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
  • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
Teaching Techniques(วิธีการสอน) :
  • Program Power Point
  • เทคนิคการถามตอบ
  • เทคนิคการยกตัวอย่าง
Skills(ทักษะที่ได้):
  • ทักษะการคิดตอบคำถาม
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการวิเคราะห์
Applications in Life(การประยุกต์ใช้) :
  • รูปแบบในการจัดการศึกษาให้กับเด็กแต่ละประเภทนั้นไม่เหมือนกันดังนั้นเราควรจะแน่ใจแล้วว่าเด็กมีลักษณะหรือความต้องการอย่างไรซึ่งได้จาการสังเกตหรือเฝ้าดูพฤติกรรมของเด็กนั้นเอง
Evaluation(การประเมินผล):
Me : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend : เพื่อนๆมาเรียนเร็วและห้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
Teacher : อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีทั้งสื่อการสอนและการยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9 วันที่ 23 มีนาคม 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

***

อาจารย์เฉลยข้อสอบ
และร่วมกันสนทนาเรื่องโรงเรียนฝึกสังเกตในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา

***

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8 วันที่ 16 มีนาคม 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

***

งดการเรียนการสอนเนื่องจากสอบเก็บคะแนน
วิชาการจัดประสบการณ์การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


***
บันทึกอนุทินครั้งที่ 7 วันที่ 9 มีนาคม 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

Learning ( เนื้อหาที่เรียน )


ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
(Children with Behavioral and Emotional Disorders)
  • มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
  • แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
  • มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
  • เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินาน ๆ ไม่ได้
  • เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
  • ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
  • ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
1.ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
  • ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
  • ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
  • กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
  • เอะอะและหยาบคาย
  • หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
  • ใช้สารเสพติด
  • หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
2.ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
  • จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
  • ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
  • งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
3.สมาธิสั้น (Attention Deficit)
  • มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
  • พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
  • มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
4.การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
  • หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
  • เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
  • ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
5.ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
  • การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
  • การปฏิเสธที่จะรับประทาน
  • รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
  • โรคอ้วน (Obesity)
  • ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)
6.ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
  • ขาดเหตุผลในการคิด
  • อาการหลงผิด (Delusion)
  • อาการประสาทหลอน (Hallucination)
  • พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
  1. ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
  2. รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
  3. มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
  4. มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
  5. แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  6. มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
Inattentiveness
  • ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
  • ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
  • มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
  • เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
  • เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity
  • ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
  • เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
  • เหลียวซ้ายแลขวา
  • ยุกยิก แกะโน่นเกานี่
  • อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
  • นั่งไม่ติดที่
  • ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness
  • ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
  • ขาดความยับยั้งชั่งใจ
  • ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
  • ไม่อยู่ในกติกา
  • ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
  • พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
  • ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
  • ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
  • ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า       (frontal cortex)
  • พันธุกรรม
  • สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
  • สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  1. อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
  2. ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
  3. ดูดนิ้ว กัดเล็บ
  4. หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
  5. เรียกร้องความสนใจ
  6. อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
  7. ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
  8. ฝันกลางวัน
  9. พูดเพ้อเจ้อ
9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
  • เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
  • เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
  • เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
  • เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
Skills ( ทักษะที่ได้ )
  • ทักษะการตอบคำถาม
  • ทักษะการวิเคราะห์
Teaching Techniques ( เทคนิคการสอน )
  • Power Point
  • สื่อออนไลน์(youtube)
  • การใช้คำถาม
Applications in Life ( การนำไปประยุกต์ใช้ )
  • ใช้เป็นความรู้เบื้องต้น เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการสังเกตเด็กในห้องเรียน ว่ามีอาการผิดปกติ หรือเข้าข่ายเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทใด เพื่อที่จะส่งเสริมได้ถูกต้อง
Evaluation ( การประเมิน )

Me : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend : เพื่อนๆมาเรียนเร็วและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
Teacher : อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีทั้งสื่อการสอนและการยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
บันทึกอนุทินครั้งที่ 6 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

***ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค***
บันทึกอนุทินครั้งที่ 5 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

Learning(เนื้อหาที่เรียน) :
  • ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ):

6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) 
      เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
  • สาเหตุของ LD
ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
  1. กรรมพันธุ์
 - ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
    อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำอ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลยไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
*ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
  1. อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
  2. อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
  3. เดาคำเวลาอ่าน
  4. อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
  5. อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
  6. ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
  7. ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
  8. เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้
 - ด้านการเขียน (Writing Disorder)
  1. เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
  2. เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
  3. เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
*ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
  1. ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
  2. เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
  3. เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
  4. เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
  5. เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
  6. เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
  - ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)
  1. ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
  2. ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
  3. แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
*ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
  1. ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
  2. นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
  3. คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
  4. จำสูตรคูณไม่ได้
  5. เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
  6. ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น ตีโจทย์เลขไม่ออก
  7. คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
 - หลายๆ ด้านร่วมกัน
  1. อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  2. เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
  3. งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
  4. สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
  5. เขียนตามแบบไม่ค่อยได้ ทำงานช้า

7. ออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิซึ่ม (Autism) 

  • เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
  • ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น 
  • ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม 
  • เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
  • ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
ลักษณะของเด็กออทิสติก 
  1. อยู่ในโลกของตนเอง
  2. ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
  3. ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน 
  4. ไม่ยอมพูด
  5. เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก องค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริก
  1. ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
  • ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
  • ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
  • ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
  • ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น
      2.  ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
  • มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
  • ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
  • พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
  • ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
      3.   มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
  • มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
  • มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
  • มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
  • สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ
      4.  พฤติกรมการทำซ้ำ
  • นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  • นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  • ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
      5.  พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
  • ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  • การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
  • การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ
Teaching Techniques(วิธีการสอน) :
  • Program Power Point
  • เทคนิคการถามตอบ
  • เทคนิคการยกตัวอย่าง
Skills(ทักษะที่ได้): 
  • ทักษะการคิดตอบคำถาม
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการวิเคราะห์
Applications in Life(การประยุกต์ใช้) :
  • การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มัความต้องการพิเศษนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่เราจะต้องใส่เดกให้มากๆ เพื่อให้เด็กเกิดความไว้วางใจและคอยเฝ้าดูเขาอย่างใกล้ชิด
Evaluation(การประเมินผล):
Me : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend : เพื่อนๆมาเรียนเร็วและห้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
Teacher : อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีทั้งสื่อการสอนและการยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน



Learning(เนื้อหาที่เรียน) :

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด 
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ   
    • เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน                                                                                     
    •  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป                                                                                   
    •  เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง                                                                                                   
    • มีปัญหาทางระบบประสาท                                                                                        
    •  มีความลำบากในการเคลื่อนไหว                                                                           
  • ซี.พี.    
    •  การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด                                                       
    • การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของ   สมองแตกต่างกัน                                                                                                                                        
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ):
  • การเปิดใจรับเด็กพิเศษการให้กำลังใจเขาเพราะเด็กประะเภทนี้ต้องการกำลังใจที่จะทำให้เขาก้าวเดินต่อไปและอยู่ในสังคมนี้ได้เหมือนคนปกติ
Teaching Techniques(วิธีการสอน) :
  • โปรแกรม Power Point 
  • การอธิบายเนื้อหา 
  • การถามตอบ 
Skills(ทักษะที่ได้):
  • ทักษะการฟัง 
  • ทักษะการตอบคำถาม 
  • ทักษะการคิด 
Applications in Life(การประยุกต์ใช้) :
  • เมื่อเรารู้จักเด็กพิเศษแล้วทำให้เราเข้าใจเขามากขึ้นและถ้าอนาคตเราได้ไปอยู่กับเด็กพิเศษจริงๆแล้วก็สามารถที่จะปรับตัวและยอมรับเขาได้

Evaluation(การประเมินผล):

Me : มาตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูด
Friend : เพื่อนมากันเป็นจำนวนมากและตั้งใจฟังอาจารย์
Teacher : อาจารย์ได้เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีถึงแม้ว่าอาจารย์จะไม่สบาย
บันทึกอนุทินครั้งที่ 3 วันที่ 27 มกราคม 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน




Learning(เนื้อหาที่เรียน) :

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูงมีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า
 “เด็กปัญญาเลิศ”
   •เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา
   •มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง แบ่งเป็น 9 ประเภท คือ
   1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา 
       หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อเทียบเด็กในระดับอายุ                เดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือเด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
   2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน 
      หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน
      มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก
   3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น 
     - เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
     - มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
     - สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
     - มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
       จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท   
   4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
   5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
   6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
   7. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
   8. เด็กออทิสติก
   9. เด็กพิการซ้อน

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ):
   
   ได้รู้ถึงประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รู้ว่าเด็กแต่ละประเภทมีความต้องการการให้การอบรมเลี้ยงดูอย่างไร

Teaching Techniques(วิธีการสอน) :
  • โปรแกรม  Power Point
  • การอธิบายเนื้อหา
  • การถามตอบ
Skills(ทักษะที่ได้):
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการตอบคำถาม
Applications in Life(การประยุกต์ใช้) :

   เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเด็กพิเศษแล้วเราก็สามารถให้ความรู้แก่ผู้ปกครองหรือให้การศึกษาแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้อย่างถูกต้อง

Evaluation(การประเมินผล):

Me : ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ
Friend : ตั้งใจตอบคำถาม ไม่วุ่นวาย
Teacher : อาจารย์อธิบายในสิ่งท่นักศึกษาสงสัยและตอบคำถามนักศึกษาได้อย่างชัดเจน

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความ


เรื่อง การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Inclusive education for children with special needs)
ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์
ระดับ: อนุบาล
หมวด: นวัตกรรมการศึกษา


        การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Inclusive education for children with special needs) เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทต่างๆ เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น โดยจัดให้เด็กเหล่านี้เข้ามาเรียนในชั้นเรียนปกติ เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก อีกทั้งยังช่วยให้เด็กปกติมีการยอมรับ และปรับตัว เพื่อสามารถเรียนร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้


การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษคืออะไร?      การเรียนร่วม หรือการจัดการศึกษาโดยรวม (Inclusive Education) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียน ทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กและจะต้องจัดการศึกษาให้เขาอย่างเหมาะสม การเรียนร่วมยังหมายถึงการศึกษาที่ไม่แบ่งแยกระดับชั้น เช่น อนุบาลประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ตลอดจนการดำรงชีพของคนในสังคมหลังจบการศึกษาจะต้องดำเนินไปในลักษณะร่วมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับเด็กปกติโดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดความหมายของการเรียนร่วมว่า หมายถึง วิธีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ตามรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข การจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ นั้นสามารถจัดการศึกษาได้หลายหลายรูปแบบ คือ
  • การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
  • การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 วันที่  21 มกราคม 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


เนื่องจากวันนี้ไม่ได้มาเรียนจึงขออ้างข้อมูลจากนางสาวเปมิกา  เปาะทองคำ

Learning(เนื้อหาที่เรียน) :
ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง สูญเสีย สรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
1.ทางการแพทย์ มักเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า "เด็กพิการ"
2.ทางการศึกษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ คือ เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัยเดียวกัน พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่งพฤติกรรมและพัฒการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
1.ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
2.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม
 3.ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
4.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.พันธุกรรม ได้แก่ Cleft Lip , ธาลัสซีเมีย
2.โรคประสาท
3.การติดเชื้อ
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6.สารเคมี ได้แก่ ตะกั่ว แอลกอฮอล์ FAS นิโคติน
7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
8.สาเหตุอื่นๆ อาการบกพร่องที่มีต่อเด็กความบกพร่องทางพัฒนาการ มีพัฒนาการล่าช้าพบใน 1 ด้าน ปฏิกิริยาสะท้อน ไม่หายถึงแม้อายุที่ควรจะหาย
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การซักประวัติ
2.การตรวจร่างกาย
3.การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ แบบทดสอบDenver ll Gesell Drawing Test แบบประเมินพฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอายุแรกเกิด-5 ปี สถาบันราชานุกูล
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ):

  • ได้รู้ความรู้เบื้องต้นของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

Teaching Techniques(วิธีการสอน) :
  • เทคนิคการอธิบาย
  • โปรแกรม Power Point
Skills(ทักษะที่ได้):
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการตอบคำถาม
Applications in Life(การประยุกต์ใช้) :
  • นำการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษในวันนี้ไปปฏิบัติต่อการสอน การเรียนต่อไป
Evaluation(การประเมินผล):

Me : ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ
Friend : ตั้งใจตอบคำถาม ไม่วุ่นวาย
Teacher : อาจารย์ได้แนะนำแนวการเรียนการสอน ทำให้นักศึกษาได้ไปเตรียมความพร้อมว่าในรายวิชานี้ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
บันทึกอนุทินครั้งที่ 1 วันที่ 13 มกราคม 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


Learning(เนื้อหาที่เรียน) :
  • คุณครูบอกถึงเนื้อหารายวิชา เเละบอกข้อตกลงในรายวิชาเรียนการจัดประสบการณ์วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ):
  • รู้ถึงแนวการเรียนการสอนที่จะได้รีบความรู้ในเทอมนี้
Teaching Techniques(วิธีการสอน) :
  • เทคนิคการอธิบาย
Skills(ทักษะที่ได้):
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการตอบคำถาม
Applications in Life(การประยุกต์ใช้) :

Evaluation(การประเมินผล):

Me : ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ
Friend : ตั้งใจตอบคำถาม ไม่วุ่นวาย
Teacher : อาจารย์ได้แนะนำแนวการเรียนการสอน ทำให้นักศึกษาได้ไปเตรียมความพร้อมว่าในรายวิชานี้ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง