วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 วันที่ 30 มีนาคม 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

Learning(เนื้อหาที่เรียน) :

**การจัดประสบการณ์ การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย**

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ):
รูปแบบการจัดการศึกษา
  1. การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  2. การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  3. การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  4. การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
**ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)**
  • การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
  • มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
  • ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
  • ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
**การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)**
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
**การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)**
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
  • มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
  • เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
**ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)**
  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
  • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
**สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม**
  • เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  • เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All)
  • การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
  • เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
**ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย**
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ “สอนได้” เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
**บทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม**
  • ครูไม่ควรวินิจฉัย การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
  • ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
  • ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
  • ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้ ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
**ครูทำอะไรบ้าง**
  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
  • ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
  • สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
  • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
Teaching Techniques(วิธีการสอน) :
  • Program Power Point
  • เทคนิคการถามตอบ
  • เทคนิคการยกตัวอย่าง
Skills(ทักษะที่ได้):
  • ทักษะการคิดตอบคำถาม
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการวิเคราะห์
Applications in Life(การประยุกต์ใช้) :
  • รูปแบบในการจัดการศึกษาให้กับเด็กแต่ละประเภทนั้นไม่เหมือนกันดังนั้นเราควรจะแน่ใจแล้วว่าเด็กมีลักษณะหรือความต้องการอย่างไรซึ่งได้จาการสังเกตหรือเฝ้าดูพฤติกรรมของเด็กนั้นเอง
Evaluation(การประเมินผล):
Me : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend : เพื่อนๆมาเรียนเร็วและห้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
Teacher : อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีทั้งสื่อการสอนและการยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น