วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความ


เรื่อง การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Inclusive education for children with special needs)
ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์
ระดับ: อนุบาล
หมวด: นวัตกรรมการศึกษา


        การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Inclusive education for children with special needs) เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทต่างๆ เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น โดยจัดให้เด็กเหล่านี้เข้ามาเรียนในชั้นเรียนปกติ เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก อีกทั้งยังช่วยให้เด็กปกติมีการยอมรับ และปรับตัว เพื่อสามารถเรียนร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้


การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษคืออะไร?      การเรียนร่วม หรือการจัดการศึกษาโดยรวม (Inclusive Education) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียน ทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กและจะต้องจัดการศึกษาให้เขาอย่างเหมาะสม การเรียนร่วมยังหมายถึงการศึกษาที่ไม่แบ่งแยกระดับชั้น เช่น อนุบาลประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ตลอดจนการดำรงชีพของคนในสังคมหลังจบการศึกษาจะต้องดำเนินไปในลักษณะร่วมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับเด็กปกติโดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดความหมายของการเรียนร่วมว่า หมายถึง วิธีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ตามรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข การจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ นั้นสามารถจัดการศึกษาได้หลายหลายรูปแบบ คือ
  • การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
  • การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 วันที่  21 มกราคม 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


เนื่องจากวันนี้ไม่ได้มาเรียนจึงขออ้างข้อมูลจากนางสาวเปมิกา  เปาะทองคำ

Learning(เนื้อหาที่เรียน) :
ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง สูญเสีย สรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
1.ทางการแพทย์ มักเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า "เด็กพิการ"
2.ทางการศึกษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ คือ เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัยเดียวกัน พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่งพฤติกรรมและพัฒการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
1.ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
2.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม
 3.ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
4.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.พันธุกรรม ได้แก่ Cleft Lip , ธาลัสซีเมีย
2.โรคประสาท
3.การติดเชื้อ
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6.สารเคมี ได้แก่ ตะกั่ว แอลกอฮอล์ FAS นิโคติน
7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
8.สาเหตุอื่นๆ อาการบกพร่องที่มีต่อเด็กความบกพร่องทางพัฒนาการ มีพัฒนาการล่าช้าพบใน 1 ด้าน ปฏิกิริยาสะท้อน ไม่หายถึงแม้อายุที่ควรจะหาย
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การซักประวัติ
2.การตรวจร่างกาย
3.การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ แบบทดสอบDenver ll Gesell Drawing Test แบบประเมินพฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอายุแรกเกิด-5 ปี สถาบันราชานุกูล
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ):

  • ได้รู้ความรู้เบื้องต้นของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

Teaching Techniques(วิธีการสอน) :
  • เทคนิคการอธิบาย
  • โปรแกรม Power Point
Skills(ทักษะที่ได้):
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการตอบคำถาม
Applications in Life(การประยุกต์ใช้) :
  • นำการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษในวันนี้ไปปฏิบัติต่อการสอน การเรียนต่อไป
Evaluation(การประเมินผล):

Me : ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ
Friend : ตั้งใจตอบคำถาม ไม่วุ่นวาย
Teacher : อาจารย์ได้แนะนำแนวการเรียนการสอน ทำให้นักศึกษาได้ไปเตรียมความพร้อมว่าในรายวิชานี้ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
บันทึกอนุทินครั้งที่ 1 วันที่ 13 มกราคม 2559
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


Learning(เนื้อหาที่เรียน) :
  • คุณครูบอกถึงเนื้อหารายวิชา เเละบอกข้อตกลงในรายวิชาเรียนการจัดประสบการณ์วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ):
  • รู้ถึงแนวการเรียนการสอนที่จะได้รีบความรู้ในเทอมนี้
Teaching Techniques(วิธีการสอน) :
  • เทคนิคการอธิบาย
Skills(ทักษะที่ได้):
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการตอบคำถาม
Applications in Life(การประยุกต์ใช้) :

Evaluation(การประเมินผล):

Me : ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ
Friend : ตั้งใจตอบคำถาม ไม่วุ่นวาย
Teacher : อาจารย์ได้แนะนำแนวการเรียนการสอน ทำให้นักศึกษาได้ไปเตรียมความพร้อมว่าในรายวิชานี้ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง